วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ   อานันท์    เกตศักดิ์
รหัสนักศึกษา  55224454


เกิดเมื่อวันที่   21  พฤษาคม  พ.ศ.2536      ปัจจุบันอายุ  20 ปี
ที่อยู่    138  หมู่  7 ต.ต้นธง    อ.เมือง   จ.ลำพูน
ติดต่อที่เบอร์    0900542916


ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย ราชภัฎ เชียงใหม่  คณะ นิเทศศาสตร์  สาขา ประชาสัมพันธ์
ความใฝ่ฝัน    ออกเดินทางเที่ยวรอบโลก
สิ่งที่ชอบ เล่นดนตรีและออกกำลังกาย

ประวัติของเปียโน่
เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์


ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง


 เปียโนในยุคแรกเริ่ม
เปียโนถูกคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี. รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน แต่จากบันทึกของครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 คริสโตโฟรีสร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี ค.ศ. 1720
เปียโน เหมือนการพัฒนาทางเทคโนโลยีอื่นๆ มีรากฐานมาจากพัฒนาการของฮาร์ปซิคอร์ดตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการผลิตแผ่นขยายเสียง โครง และ คีย์บอร์ด. คริสโตโฟรีเองก็เป็นผู้ผลิตฮาร์พซิคอร์ด ความสำเร็จใหม่ที่สำคัญของคริสโตโฟรีคือการให้ค้อนตีสายเปียโนโดยไม่ค้างอยู่กับสาย (เพื่อให้เสียงที่ชัด). นอกจากนั้น ตัวค้อนยังจำเป็นที่จะต้องกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ดีดหรือเด้งอย่างรุนแรง และที่สำคัญ เปียโนยังจำเป็นที่จะเล่นโนต์ที่รัวได้  เปียโนตัวแรกๆ ของคริสโตโฟรีทำขึ้นมาด้วยสายที่บางกว่าเปียโนปัจจุบัน ทำให้เสียงนั้นเบากว่าเปียโนปัจจุบันมาก. แต่เมื่อเทียบกับคลาวิคอร์ด (เครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่สามารถควบคุมความเบาหรือดัง) เปียโนมีความดังมากกว่า เครื่องดนตรีใหม่นี้ไม่ได้รับความสนใจมากนักจนนักเขียนชาวอิตาลีนามว่าสกีปีโอเน่ มาเฟอี (Scipione Maffei) ได้เขียนและตีพิมพ์บทความ (ค.ศ. 1711) ที่พูดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึงข้อดีของเปียโน. มาเฟอีได้รวมแบบของเปียโนไว้ในบทความ และกระตุ้นให้ผู้ผลิตอื่นๆ เริ่มที่จะสร้างเปียโนตามแบบของคริสโตโฟรี
       

                         หนึ่งในผู้ผลิตนี้คือกอตต์เฟรด ซิลเบอร์แมน (Gottfried Silbermann) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตออร์แกน. เปียโนของซิลเบอร์แมนแทบจะเป็นการเลียนแบบของคริสโตโฟรี ยกเว้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือคันเหยียบที่ยกแดมเปอร (์Damper Pedal) ออกจากทุกสายในเวลาเดียวกัน. หลังจากนั้น เปียโนส่วนมากก็นำสิ่งประดิษฐ์ของซิลเบอร์แมนมาใช้.
ซิลเบอร์แมนได้นำเปียโนของเขาไปแสดงให้โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ในช่วงปี ค.ศ. 1730 แต่บาคก็แสดงความไม่ชอบใจที่โน้ตสูงของเปียโนยังคงเบาและไม่สามารถให้ความไพเราะอย่างเต็มที่. ซิลเบอร์แมนจึงได้พัฒนาเปียโนเพิ่มขึ้นอีก จนบาคให้ความเห็นด้วยกับเปียโนของซิบเบอร์แมนราวปี ค.ศ. 1747
การผลิตเปียโนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในหมู่ผู้ผลิตเปียโนแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งรวมถึงโยฮัน แอนเดรียส สไตน (Johann Andreas Stein) และแนนเนต์ สไตน (Nannette Stein) ลูกสาวของโยฮัน แอนเดรียส. เปียโนเวียนนานั้นมีโครงไม้ สายสองเส้นต่อโน้ต และค้อนหนัง. นักประพันธ์ชื่อดังอย่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เองก็ได้ประพันธ์เพลงเพื่อเล่นบนเปียโนชนิดนี้. เปียโนในยุคของโมซาร์ทนั้นมีเสียงที่ใสกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีพลังเสียงน้อยกว่าเปียโนในปัจจุบัน




ในปัจจุบัน คำว่าฟอร์เตเปียโน (
fortepiano) ใช้แยกแยะระหว่างเปียโนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเปียโนในปัจจุบัน

                    บาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี  เป็นผู้สร้างเปียโน่คนแรกในยุค 1700








คันเหยียบ (Pedal)ของ Upright Piano
เปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในคริสต์ศตวรรษที่ 18เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่  คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุดคันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน ในเปียโนบางตัวจะมี 2 อัน โดยจะเทียบได้เท่ากับ อันซ้ายสุดและอันขวาสุดของเปียโนที่มี 3 อัน ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่
1. คันเหยียบอันซ้ายสุด = มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
2.  คันเหยียบอันกลาง = ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น
3.  คันเหยียบอันขวาสุด = คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน)


Baldwin (ค.ศ. 1890)
Bechstein (ค.ศ. 1853)
Bösendorfer (ค.ศ. 1828)
Broadwood (ค.ศ. 1783)
Érard (ค.ศ. 1777)
Fazioli (ค.ศ. 1978)
Feurich (ค.ศ. 1851)
Gaveau (ค.ศ. 1847)
Grotrian (ค.ศ. 1835)
Kawai (ค.ศ. 1930)
Mason and Hamlin (ค.ศ. 1854)
Petrof (ค.ศ. 1864)                                                                     รายชื่อผู้ผลิตเปียโนชื่อดังของโลก
Pleyel (ค.ศ. 1807)
Samick (ค.ศ. 1958)
Sauter (ค.ศ. 1819)
Schimmel (ค.ศ. 1885)
Steingraeber & Söhne
Steinway & Sons (ค.ศ. 1853)
Stuart and Sons
Yamaha (ค.ศ. 1889)
Young Chang (ค.ศ. 1956)

ประเภทของเปียโน

ประเภทของเปียโน่
เปียโนแกรนด์ (Grand Piano)
เป็นเปียโนมาตรฐานที่ใช้ในการแสดงที่เป็นทางการ (หรือถ้าใครมีไว้ซ้อมที่บ้านก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ ขึ้นอยู่กับความไฮโซส่วนบุคคล :)) มีหลายขนาด โดยยิ่งยาว เสียงจะยิ่งดีกว่าตัวสั้นครับ ถ้าไม่ยาวมาก เช่นประมาณ 4-5 ฟุต อาจจะเรียกว่า เบบี้แกรนด์ (Baby Grand) ซึ่งก็จะเหมาะสำหรับไว้ซ้อมหรือคอนเสิร์ตเล็กๆ มากกว่า แต่ถ้ายาวกว่านั้นก็จะเรียกได้ว่าแกรนด์เปียโนครับ โดยแกรนด์เปียโนบางตัวที่ใช้แสดงคอนเสิร์ตอาจยาวถึง 9 ฟุตเลยทีเดียว





ปียโนอัพไรท์ (Upright Piano)

     เป็นเปียโนที่พบเห็นได้แพร่หลายมาก โดยเฉพาะตามโรงเรียนสอนเปียโน เปียโนอัพไรท์จะกินที่น้อยกว่า แต่แน่นอน เสียงก็จะไม่หรูหราเท่าเปียโนแกรนด์และราคาจะถูกกว่า ความแตกต่างระหว่างเปียโนอัพไรท์กับเปียโนแกรนด์คือ โครงหรือซาวน์บอร์ด (Sound Board) ที่ใช้ขึงสายเปียโนของอัพไรท์จะอยู่ในแนวตั้ง แต่ของแกรนด์จะอยู่ในแนวนอน เพราะฉะนั้นสำหรับเปียโนอัพไรท์ ยิ่งสูงสายเปียโนก็จะยิ่งยาว เสียงก็จะยิ่งดี ยกตัวอย่างเปียโนอัพไรท์ของยามาฮ่า (Yamaha) รุ่น U1 จะสูงประมาณ 121 cm. ส่วนรุ่น U3 จะสูงประมาณ 131 cm. เราก็จะเรียก U3 ว่ารุ่นใหญ่กว่าเนื่องจากสายยาวกว่า เสียงดีกว่าและแน่นอนว่าแพงกว่า
                                        
                                           

                                                                                                                                                 เปียโนอัพไรท์ (Upright Piano)


เปียโนไฟฟ้า (Digital piano)


เปียโนไฟฟ้า (Digital Piano)
ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า เครื่องดนตรีไฟฟ้าที่มีคีย์สีดำๆ ขาวๆ และกดมีเสียงได้ ไม่ได้เรียกว่าเปียโนไฟฟ้าทุกตัวนะครับ บางอันมีคีย์ไม่ถึง 88 คีย์และบางอันก็ทำเสียงดัง-เบาไม่ได้ (ทำเสียงดัง-เบา หมายถึงกดแรงเสียงดัง กดค่อยเสียงเบานะครับ ไม่ใช่ปรับเสียงดัง-เบา) ถ้าเป็นอย่างที่ว่าข้างต้นผมจะไม่เรียกว่าเปียโนไฟฟ้าละกันครับ เรียกเป็นคีย์บอร์ดไฟฟ้าดีกว่าจะได้ไม่สับสน ผมจะเรียกเปียโนไฟฟ้าก็ต่อเมื่อเครื่องนั้นมีคีย์ครบ 88 คีย์ ขนาดของคีย์เท่าเปียโนจริง และสามารถทำกดแรงเสียงดัง กดค่อยเสียงเบาได้ครับ

เปียโนไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าและแผงวงจรสังเคราะห์เสียงออกมา ไม่ได้ใช้กลไกแบบเปียโนจริงๆ (ที่ว่าเปียโนจริงๆ หมายถึงเปียโนที่เป็นกลไกทั้งหมด ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า) ถึงแม้ตรงคีย์บอร์ดสำหรับกดจะดูเหมือนๆ กัน แต่เนื่องจากโครงสร้างและกลไกภายในไม่เหมือนกัน เวลาเล่นจะรู้สึกถึงสัมผัส แรงที่ใช้กด ความเด้ง ความหนืด ไม่เหมือนกัน (ถึงแม้เปียโนไฟฟ้าจะพยายามทำให้คล้ายแล้วแต่ยังไงมันก็ไม่เหมือนอยู่ดีครับ :( โดยส่วนมากแล้วเปียโนไฟฟ้าจะกดง่ายกว่า ใช้แรงน้อยกว่า) อันนี้จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่ทำให้เปียโนไฟฟ้าไม่เหมาะสำหรับผู้ที่จะเล่นเปียโนเป็นจริงเป็นจัง เนื่องจากสัมผัสไม่เหมือนกันหรือที่เรียกว่า Touching ไม่เหมือนกันครับ (ปล. ขนาดเปียโนจริงๆ คนละตัว คนละรุ่น Touching ยังไม่เหมือนกันเลยครับ)



 คีย์บอร์ด
เปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88 คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0 ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85 คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0 บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโนปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ) ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance) ได้มากขึ้น ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้ ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการ
สำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่ 18






10 อันดับนักเปียโน่ที่ดังตลอดกาล
นิตยสารเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกและศิลปะชื่อ Limelight จากประเทศออสเตรเลีย เป็นนิตยสารทั้งฉบับตีพิมพ์ปกติและส่วนที่เป็นเว็บไชต์อยู่ในอินเตอร์เน็ต บทความล่าสุดของ เมลิซซ่า เลสนี นำเสนอรายชื่อ 10 นักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลอันเกิดจากการโหวตของนักเปียโนชื่อดังรุ่นใหม่หลายต่อหลายคน พร้อมทัศนะบางส่วนจากนักเปียโนคลื่นลูกใหม่ ที่มีต่อนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลเหล่านั้น
 ความแตกต่างระหว่างดนตรีคลาสสิกและดนตรีป๊อปบางประการ ส่วนหนึ่งอยู่ที่ตัวบทเพลง ขณะที่ดนตรีป๊อปมีเพลงใหม่ๆ ออกมาเพื่อสร้างกระแสนิยมได้เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตัวศิลปินผู้สร้างสรรค์หรือนำเสนอผลงานมากมายแต่ดนตรีคลาสสิก แม้มีนักดนตรีหน้าใหม่สู่วงการสม่ำเสมอ แต่บทเพลงที่นิยมนำมาบรรเลงมักเวียนวน นิยมเล่น นิยมฟังกันซ้ำๆ กันอยู่ไม่กี่เพลง เป็นเรื่องของการนำเพลงเก่า มาเล่น มาตีความใหม่ความนิยมชมชื่นศิลปินดนตรีคลาสสิก ส่วนหนึ่งอยู่ที่ความส่ามารถของศิลปินด้าน เทคนิคการบรรเลงและ การ ตีความเพลงเก่าๆ ยอดนิยมเหล่านั้น ไม่แปลกใจว่าทำไมวงการดนตรีคลาสสิกจึงมักพูดถึง เขียนถึง หรือยกย่องชื่นชมนักดนตรี, วาทยกร, นักร้อง หน้าเก่าๆ ชื่อซ้ำๆ กันไม่กี่คน ไม่เหมือนดนตรีป๊อปที่มีศิลปินทั้งเก่าและใหม่มากมาย จนจดจำชื่อไม่ไหว ความยิ่งใหญ่ตลอดกาลของศิลปินดนตรีคลาสสิก ต้องการระยะเวลาในการพิสูจน์ความสามารถของผู้สร้างสรรค์และนำเสนอผลงานดนตรี ที่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะต้องใช้เวลามากกว่าศิลปินซีกดนตรีป๊อป
 ผลการโหวต 10 นักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล จึงตกเป็นของ ศิลปินอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว ผ่านหนาวผ่านร้อน ผ่านการพิสูจน์ ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน เกือบทั้งสิ้น ซึ่งประกอบด้วย


 อันดับ 10 - อาร์เธอร์ ชนาเบล (Artur Schnabel) นักเปียโนชาวออสเตรีย นักเปียโนคนแรกที่บันทึกเสียงบทเพลงเปียโน โซนาต้า ของเบโธเฟน ครบทุกเพลง ในปี ค.ศ. 1931 จนนักวิจารณ์ดนตรีบางคน ตั้งสมญานามให้เขาว่า เป็นผู้ปลุกปั้นเบโธเฟนให้โด่งดังโจนาธาน บีส นักเปียโนหนุ่มชาวอเมริกัน กล่าวถึงชนาเบลว่า ถ้ามีใครมาถามผมว่า นักเปียโนที่ผมรักมากที่สุดคือใคร ผมอาจตอบไม่ได้ เพราะมีมากมายหลายคนเหลือเกิน แต่ถ้าถามว่าใครเป็นนักเปียโนที่สร้างแรงบันดาลใจทางดนตรีให้ผม ผมตอบได้ง่ายกว่า ว่า เขาคือ อาร์เธอร์ ชานาเบล แผ่นซีดีที่ผู้เขียนคิดว่าเหมาะสำหรับทำความรู้จักกับชนาเบล โดยเฉพาะนักดนตรี คงไม่พ้น แผ่นซีดีบ๊อกซ์ เซท 8 แผ่น สังกัดอีเอ็มไอ เดี่ยวเปียโน โซนาต้า ของเบโธเฟน ครบทุกเพลง หนึ่งใน 100 สุดยอดอัลบั้มดนตรีคลาสสิกจากนิตยสารแกรมโมโฟน แต่อาจเป็นอัลบั้มที่ไม่ถูกใจคอเพลงทั่วไป ด้วยข้อด้อยของการบันทึกเสียงและเทคโนโลยียุคนั้น


 อันดับ 9 - วิลเฮล์ม เคมฟ์ (Wilhelm Kempff) นักเปียโนชาวเยอรมัน ผู้มุ่งเน้นบรรเลงผลงานเพลงเปียโน สำนักเยอรมัน ซึ่งแม้ในวัย 80 ปี เคมฟ์ ก็ยังเล่นคอนเสิร์ตอยู่อย่างสม่ำเสมอ จุดเด่นเสียงเปียโนของเคมฟ์เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกลึกซึ้ง สีสันน่าฟัง แฝงพลังดนตรีอันยิ่งใหญ่ ไชเพรียน แคทซาริส นักเปียโนชาวฝรั่งเศส เชื้อสายไซปรัส รำลึกถึงเคมฟ์ว่า ถ้าเคมฟ์ยังมีชีวิตอยู่ถึงยุคนี้ ผมแน่ใจว่าเขาจะเป็นนักเปียโนที่ประสบความสำเร็จมาก เพราะปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับนักดนตรี คือการมีบุคลิกทางดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากๆ และเขามีคุณสมบัตินี้ สื่อผลิตซ้ำทางดนตรีที่ผู้เขียนนึกถึงเมื่อเอ่ยถึงเคมฟ์ เท่าที่ผู้เขียนเคยฟังมาและอยากแนะนำ คือ อัลบั้มบ๊อกซ์ เซท 8 แผ่น บรรเลงเปียโน โซนาต้า ครบทุกเพลง เวอร์ชั่นแรก บันทึกเสียงระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1951 ถึง 1956  (เคมฟ์บันทึกเพลงนี้ 2 ครั้ง)  แม้เป็นการบันทึกเสียงในระบบโมโน แต่สุ้มเสียงออกมาน่าฟัง (มากๆ) กว่าที่คิดไว้ ผลงานการบรรเลงอื่นๆ ที่น่าฟังของเคมฟ์ ได้แก่บทเพลงของบาค และชูเบิร์ต



 อันดับ 8 - อัลเฟรด เบรนเดล (Alfred Brendel) เป็นเพียงหนึ่งในสิบของนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ที่ยังมีชีวิตอยู่ เบรนเดลเป็นนักเปียโนชาวออสเตรีย เคยบันทึกเสียงการบรรเลงเปียโน โซนาต้า ของเบโธเฟน ครบทุกเพลง เพื่อจัดทำสื่อผลิตซ้ำทางดนตรีมาแล้วถึง 4 ครั้ง เป็นนักเปียโนคนที่สอง (คนแรกคือชนาเบล) ที่เดี่ยวเปียโน โซนาต้า ครบทั้ง 32 เพลงในการแสดงที่คาร์เนกี้ ฮอลล์ อัลบั้มการบรรเลงเปียโน โซนาต้า ผลงานของเบโธเฟน ของเบรนเดล แม้น่าฟังหลายเพลง (บ๊อกซ์ เซท 10 แผ่น เวอร์ชั่นล่าสุด ออกเผยแพร่ปี ค.ศ. 2009) แต่ยังไม่ ร้อนแรงเกือบทุกเพลงเท่าเวอร์ชั่นการบรรเลงของชนาเบลและเคมฟ์ ผู้เขียนกลับติดใจอัลบั้มสังกัดฟิลิปส์ รวม 4 แผ่น บรรเลงเปียโน โซนาต้า ของ ไฮเดิน คุ้มค่าการฟัง ทั้งการเล่นและการบันทึกเสียงเปียโนได้ใกล้ชิดเป็นธรรมชาติยิ่ง และ อัลบั้ม 7 แผ่น ชุด Schubert: Piano Works 1822 - 1828 สามารถสำแดงความโดดเด่นในการบรรเลงและตีความเพลงผลงานเพลงของชูเบิร์ต โดยเบรนเดล ได้สมความเป็นนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลอีกคนหนึ่ง


 อันดับ 7 - เกลน กูลด์ (Glenn Gould) นักเปียโนชาวแคนาดา หนึ่งเดียวแห่งความแปลกและแหวกกรอบทั้งด้านดนตรีและการใช้ชีวิตส่วนตัว เป็นศิลปินคลาสสิกเพียงไม่กี่คน ที่มีเรื่องราวน่าสนใจให้ผู้คนติดตามผ่านทางสื่อต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, แผ่นเสียง, แผ่นซีดี, ภาพยนตร์สารคดีดนตรีเรื่องราวหลากแง่มุมของกูลด์, รายการโทรทัศน์ในประเทศแคนาดาที่กูลด์เป็นผู้จัดอยู่ระยะหนึ่ง ฯลฯมากและ สร้าง สีสันสร้างความ ฮือฮาได้พอๆ กับ มาเรีย คัลลาส กูลด์ยุติการเล่นคอนเสิร์ตต่อสาธารณชน ขณะอายุ 31 ปี เพื่อมุ่งการบันทึกเสียง สร้างสื่อซ้ำทางดนตรีทั้งแผ่นเสียงและแผ่นซีดี และทำโครงการทดลองด้านศิลปะและดนตรี เด่นและได้รับการยกย่อง ยอมรับ ในการบรรเลงเปียโนบทเพลงของบาค คำกล่าวของนักเปียโนรุ่นใหม่ ชาวฝรั่งเศส Pascal Roge บ่งบอกตัวตนทางดนตรีของกูลด์ได้สั้นและกระชับ ว่า เกลน กูลด์ เป็นผู้สร้างสรรค์ มากกว่าการเป็นผู้ตีความดนตรี
 “ผมคิดว่า ความยิ่งใหญ่ของกูลด์ที่มีต่อนักดนตรี คือ อิสรภาพในบรรเลงดนตรีผลงานเพลงชองนักแต่งเพลงท่านใดท่านหนึ่ง แต่ในเวลาเดียวกันยังเคารพในตรรกะและจิตวิญญาณทางดนตรีของนักแต่งเพลงผู้นั้น เป็นสมการแห่งความเท่าเทียมกันที่ท้าทายมาก
 นึกถึง เกลน กูลด์ ไม่พ้นที่จะต้องนึกถึง แผ่นเสียงหรือแผ่นซีดีการบรรเลงบทเพลง โกลด์เบิร์ก แวริเอชั่นส์ เป็นอัลบั้มคลาสสิก ขึ้นหิ้งได้รับการยกย่องและชื่นชมมายาวนาน เพลงนี้กูลด์บันทึกเสียงไว้ 2 ครั้ง ครั้งแรกบันทึกเสียงปี ค.ศ.1955  ครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1981 น่าฟังคู่กัน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการบรรเลงและตีความเพลงของกูลด์


อันดับ 6 - อัลเฟรด คอร์โต (Alfred Cortot) นักเปียโนชาวฝรั่งเศส ครูเปียโนประจำสถาบันดนตรีกรุงปารีส ผู้ได้รับสมญานามว่า กวีแห่งเปียโนแฟนเพลงคลาสสิกชื่นชอบคอร์โต ผ่านผลงานการบรรเลงเปียโน บทเพลงของโชแปง, ชูมานน์ และ เดอบุซซี  สำหรับผู้คนในแวดวงเปียโน เมื่อเอ่ยชื่อคอร์โต สิ่งแรกที่หลายๆ คนนึกถึงคือ นักเปียโนที่เล่นเปียโนผิดโน้ตบ่อยครั้ง แม้กระทั่งตอนเริ่มต้นเพลง หรือหลายคนนึกถึง วงทรีโอ อันประกอบด้วยเปียโน, ไวโอลิน และเชลโล ที่โด่งดังมากในกลางศตวรรษที่ 20 ประกอบด้วยผู้เล่นฝีมือระดับโลก ได้แก่ อัลเฟรด คอร์โต เล่นเปียโน, จาค ธิบุด เล่นไวโอลิน และ พาโบล คาซาลส์ เล่นเชลโล เป็นผลงานบรรเลงเชมเบอร์ มิวสิค ที่คอร์โตเล่นเปียโน ซื้อมาหาฟังได้ง่ายกว่าแผ่นซีดีบรรเลงเปียโนเพียงอย่างเดียว สตีเฟน ฮาฟ นักเปียโนชาวอังกฤษ ระลึกถึงคอร์โตว่า
 “บางครั้งผู้ฟังจำนวนหนึ่ง จดจำคอร์โตได้ในฐานะนักเปียโนที่เล่นโน้ตผิดมากมาย แต่ดูจะไม่ยุติธรรมสำหรับเขา คอร์โตไม่เพียงแต่มีเทคนิคการเล่นเปียโนที่ดีเท่านั้น แต่ (ที่เขาเล่นผิดพลาด) เพราะไม่ต้องการให้ความมุ่งมั่นที่จะเล่นให้ถูกต้องตามตัวโน้ต มาหันเหเขาออกไปจากภาพใหญ่โดยรวมของการตีความเพลง


 อันดับ 5 - อิมิล กิเลลส์ นักเปียโนชาวรัสเซีย เรียนดนตรีจากสถาบันดนตรีกรุงมอสโคว์ ชนะการแข่งขันควีน อลิซาเบธ ในกรุงบรัสเซลส์ ปี ค.ศ. 1938 เป็นนักดนตรีหลังม่านเหล็กกลุ่มแรกๆ พร้อมเพื่อนพ้อง อาทิ เดวิด ออยสตราค และ สเวียโตสลาฟ ริชเตอร์ ที่รัฐบาลรัสเซีย อนุญาตให้เดินทางไปแสดงดนตรีในต่างประเทศได้ Cedric Tiberghien นักเปียโนหนุ่มชาวฝรั่งเศส กล่าวถึงกิเลลส์ว่า
เสียงเปียโนของกิเลลส์ มีส่วนผสมระหว่างคุณภาพเสียงที่น่าทึ่ง และความสามารถในการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง (ในการเล่นเปียโน) เป็นเรื่องที่ดูง่ายๆไปหมด หลายเพลงที่คุณคิดว่าเล่นง่ายๆ แต่เมื่อคุณฟังการเล่นของเขาจากสื่อผลิตซ้ำทางดนตรี คุณจะถึงกับอุทานว่า โอ! พระเจ้า มันเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อจริงๆ
 สื่อผลิตซ้ำทางดนตรีของกิเลลส์ ผู้เขียนอยากแนะนำแผ่นซีดี บ๊อกซ์ เซท จำนวน 9 แผ่น สังกัดดอยช์ แกรมโมโฟน บรรเลงเปียโน โซนาต้า ของเบโธเฟน เกือบครบทุกเพลง แผ่นซีดีบ๊อกซ์ เซท อีก 2 ชุด  สังกัดค่ายเพลง Brilliant Classics ซีรีย์ส Historic Russian Archives ชุดแรก Emil Gilels Edition การเดี่ยวเปียโนบทเพลงของโชแปง, ลิสซ์ท, ชูมานน์, โปรโคเฟียฟ, สเคียบิน, เดอบุซซี ฯลฯ และการเดี่ยวเปียโนประชันกับวงออร์เคสตรา บทเพลงเปียโน คอนแชร์โต ผลงานของคีตกวีหลายคน ร่วมกับวงยูเอสเอสอาร์ สเตท ซิมโฟนี ออร์เคสตรา และ มอสโคว์ ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เคสตรา ชุดที่สอง Emil Gilels Plays Beethoven Piano Concertos and Piano Sonatas บรรเลงเปียโน คอนแชร์โต ทั้ง 5 บท ร่วมกับวง สเตท ซิมโฟนี ออร์เคสตรา ออฟ ยูเอสเอสอาร์ อำนวนเพลงโดย เคิร์ต มาชัวร์ เป็นการบันทึกการแสดงสดระหว่างปี ค.ศ. 1961-1984


 อันดับ  4 - อาร์เธอร์ รูบินสไตน์ นักเปียโนชาวโปแลนด์ ผู้สันทัดการบรรเลงเพลงของโชแปง ด้วยวลีเพลงที่หลากหลาย เปี่ยมด้วยเสน่ห์ทางดนตรี หาฟังได้ยากยิ่งโรเจอร์ วูดวาร์ด นักเปียโนชาวออสเตรเลีย แสดงความรู้สึกต่อรูบินสไตน์ว่า “รูบินสไตน์ไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องในเรื่องเทคนิคการเล่นเปียโนที่ยอดเยี่ยมดุจการเล่นของรัคมานินอฟหรือโฮโรวิตช์ แต่เขาสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมการเล่นเสียงเพลงที่ลื่นไหลติดต่อกันลักษณะเสียงร้อง และการยืดหดจังหวะที่โดดเด่นมากนักเปียโนอีกคน ณอง-อีฟ ทิโบเดต กล่าวถึงรูบินสไตน์ว่า  “รูบินสไตน์ให้คำแนะนำกับผม ซึ่งผมไม่เคยลืมเลยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการแสดงดนตรี คือ ต้องระลึกถึงผู้ฟังเสมอ ต้องปฏิบัติต่อผู้ฟังเป็นอย่างดี และทำตัวให้พร้อมเสมอสำหรับการเล่นเปียโน” “วิธีการที่รูบินสไตน์เล่นเพลงของโชแปงนั้น เป็นเสียงเปียโนที่สดใสมาก เสมือนว่าเขาเล่นเพลงนั้นด้วยการด้นสดสื่อผลิตซ้ำทางดนตรี ที่ผู้เขียนมีโอกาสฟังและอยากแนะนำ เป็นแผ่นซีดี บ๊อกซ์ เซท บรรเลงเพลงของโชแปง ออกมาแล้วหลายเวอร์ชั่น อาทิ แผ่นซีดีบ๊อกซ์ เซท จำนวน 11 แผ่น ชุดThe Chopin Collection และ บ๊อกซ์ เซท 10 แผ่น ชุด The Original Jacket Collection: Rubinstein Plays Chopin นอกเหนือจากการบรรเลงน่าจดจำแล้ว ยังน่าสนใจด้วย อาร์ต เวิร์ค จากหน้าปกแผ่นเสียงเดิม ที่สร้างความตื่นตะลึงกับผู้เขียน (เพราะอยากไล่ล่า ซื้อหามาฟังให้ได้ครบสมบูรณ์ บ๊อกซ์ เซทล่าสุดชุด Arthur Rubinstein: The Complete Album Collection จำนวน 144 แผ่น ออกเผยแพร่เมื่อต้นปีนี้ มีโอกาสฟังเมื่อไร จะมาบอกเล่ากันอีกครั้ง

 อันดับ 3 - สเวียโตสลาฟ ริชเตอร์ นักเปียโนชาวรัสเซีย ผู้โดดเด่นด้วยเทคนิคการเล่นที่มั่นคง สร้างสีสันทางดนตรีได้หลากหลายนักเปียโนชาวไอร์แลนด์ แบร์รี ดักกลาส ที่เคยมาแสดงในบ้านเราแล้วหลายครั้ง กล่าวถึงริชเตอร์ว่า
 “ผมเคยฟังการเล่นเปียโนของริชเตอร์หลายครั้ง ทั้งการแสดงในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ผมรักเสียงเปียโนของริชเตอร์เพราะเขาสามารถเล่นเปียโนได้เสียงดนตรีที่ไม่เหมือนเสียงเปียโน แต่เป็นเสียงที่เหมือนกับเสียงของวงออร์เคสตรา หรือบางครั้งเหมือนกับเสียงวงขับร้องประสานเสียง
  “ผมคิดว่าสื่อผลิตซ้ำทางดนตรีของริชเตอร์ที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง ไม่ได้รับการชื่นชมเท่ากับการแสดงสดของเขา เพราะสื่อผลิตซ้ำทางดนตรีเหล่านั้นไม่ได้ เป็นตัวแทนที่แท้จริงของเขา สำหรับผมคิดว่า สื่อผลิตซ้ำทางดนตรีที่บันทึกการแสดงสดเท่านั้นที่น่าทึ่ง น่าฟังยิ่ง


 อันดับ 2 - วลาดิเมียร์ โฮโรวิตซ์ นักเปียโนชาวรัสเซีย สันทัดการบรรเลงเปียโนผลงานเพลงของคีตกวีชาวรัสเซีย และผลงานเพลงของสคาร์เลตติเฟร็ดดี เคมฟ์  นักเปียโนหนุ่มชาวอังกฤษ พูดถึงโฮโรวิตซ์ว่า
 “ในบรรดานักเปียโนผู้โด่งดังทั้งหลาย โฮโรวิตซ์เป็นนักเปียโนที่สามารถสร้างเสียงเปียโนที่หลากหลาย ทั้งสีสันและความดัง-เบา ความหลากหลายที่สร้างบรรยากาศทางดนตรี และเร้าอารมณ์ความรู้สึกในการฟัง
 “เทคนิคการเล่นเปียโนของโฮโรวิตซ์มีลักษณะเฉพาะตัว เวลาเล่นเปียโนเขาจะวางข้อมือต่ำมาก มือและนิ้วมือของเขาจะตรงและเหยียดยาวออกไป เวลาเล่นเปียโนเขาแทบจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายเลย แต่แทบไม่น่าเชื่อว่า นั่งเล่นนิ่งๆ แบบนี้ สามารถสร้างเสียงเปียโนลักษณะโครมครามออกมาได้ โดยเฉพาะตอนที่เขาเล่นเพลง The Stars and Stripes Forever ซึ่งเขาเป็นคนเรียบเรียงเอง สื่อผลิตซ้ำทางดนตรี แผ่นซีดีชวนฟัง บ๊อกซ์ เซท 10 แผ่น ชุด The Original Jacket Collection ออกเผยแพร่ปี ค.ศ. 2001 เป็นการโคลนจากแผ่นเสียงมาสู่แผ่นซีดี ทั้งบทเพลง หน้าปก และคำบรรยายเพลง จัดทำโดยค่ายเพลงโซนี บ๊อกซ์ เซทชุดที่ 2 Complete Recording จำนวน 6 แผ่น สังกัดดอยช์ แกรมโมโฟน อาทิ ชุด โฮโรวิตช์ อิน มอสโคว์, โฮโรวิตช์ เพลย์ส โมสาร์ท, เดอะ ลาสต์ โรแมนติก ฯลฯที่ไม่ควรพลาด แผ่นดีวีดีล่าสุด บ๊อกซ์ เซท รวม 6 แผ่น หลายชุดเคยผ่านหูผ่านตาคอเพลงคลาสสิกมาแล้ว น่าเก็บสะสม แต่คุณภาพของภาพ อาจทำให้หงุดหงิดได้สำหรับคนที่เคยชินกับการดูและฟังการแสดงอื่นๆ จากแผ่นบลูเรย์

อันดับ 1 - เซอร์เก รัคมานินอฟ นักเปียโนและนักแต่งเพลงชาวรัสเซีย สุ้มเสียงเปียโนของเขาประดุจเสียงร้อง ลักษณะเดียวกับเสียงไวโอลินของ ฟริตซ์ ไครสเลอร์ เทคนิคการเล่นที่ได้เปรียบคนอื่นๆ ด้วยมีนิ้วมือที่ยาว ทำให้เล่นโน้ตขั้นคู่เสียงที่ห่างกันมากๆ ได้อย่างง่ายๆ วลาดิเมียร์ โฮโรวิตซ์ พูดถึง รัคมานินอฟ นักเปียโนชาติเดียวกันว่า “รัคมานินอฟเป็นนักเปียโนที่โดดเด่นกว่านักเปียโนร่วมยุคสมัยเดียวกัน เพราะว่านอกจากเป็นนักเปียโนแล้ว เขายังเป็นนักแต่งเพลงคลาสสิกด้วย ทำให้เขาเข้าใจองค์ประกอบทุกอย่างทางดนตรีสำหรับผู้สนใจที่อยากทำความรู้สึกกับการเล่นเปียโนของรัคมานินอฟ แผ่นซีดี บ๊อกซ์ เซท 10 แผ่น ชุด Sergei Rachmaninoff: The Complete Recordings เป็นการเริ่มต้นที่ดี จะเห็นได้ว่า สื่อผลิตซ้ำทางดนตรีที่ผู้เขียนแนะนำ ส่วนใหญ่เป็นซีดี บ๊อกซ์ เซทประกอบด้วยกันหลายแผ่น เพราะราคาถูกลงมามาก ทำให้สามารถสัมผัส ลงลึกถึงเสียงดนตรี เฉพาะของนักดนตรีแต่ละคนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเห็นถึง พัฒนาการการทำงานของนักดนตรีแต่ละคนได้ละเอียดกว่า.