วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


ประวัติของเปียโน่
เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์


ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง


 เปียโนในยุคแรกเริ่ม
เปียโนถูกคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี. รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน แต่จากบันทึกของครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 คริสโตโฟรีสร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี ค.ศ. 1720
เปียโน เหมือนการพัฒนาทางเทคโนโลยีอื่นๆ มีรากฐานมาจากพัฒนาการของฮาร์ปซิคอร์ดตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการผลิตแผ่นขยายเสียง โครง และ คีย์บอร์ด. คริสโตโฟรีเองก็เป็นผู้ผลิตฮาร์พซิคอร์ด ความสำเร็จใหม่ที่สำคัญของคริสโตโฟรีคือการให้ค้อนตีสายเปียโนโดยไม่ค้างอยู่กับสาย (เพื่อให้เสียงที่ชัด). นอกจากนั้น ตัวค้อนยังจำเป็นที่จะต้องกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ดีดหรือเด้งอย่างรุนแรง และที่สำคัญ เปียโนยังจำเป็นที่จะเล่นโนต์ที่รัวได้  เปียโนตัวแรกๆ ของคริสโตโฟรีทำขึ้นมาด้วยสายที่บางกว่าเปียโนปัจจุบัน ทำให้เสียงนั้นเบากว่าเปียโนปัจจุบันมาก. แต่เมื่อเทียบกับคลาวิคอร์ด (เครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่สามารถควบคุมความเบาหรือดัง) เปียโนมีความดังมากกว่า เครื่องดนตรีใหม่นี้ไม่ได้รับความสนใจมากนักจนนักเขียนชาวอิตาลีนามว่าสกีปีโอเน่ มาเฟอี (Scipione Maffei) ได้เขียนและตีพิมพ์บทความ (ค.ศ. 1711) ที่พูดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึงข้อดีของเปียโน. มาเฟอีได้รวมแบบของเปียโนไว้ในบทความ และกระตุ้นให้ผู้ผลิตอื่นๆ เริ่มที่จะสร้างเปียโนตามแบบของคริสโตโฟรี
       

                         หนึ่งในผู้ผลิตนี้คือกอตต์เฟรด ซิลเบอร์แมน (Gottfried Silbermann) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตออร์แกน. เปียโนของซิลเบอร์แมนแทบจะเป็นการเลียนแบบของคริสโตโฟรี ยกเว้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือคันเหยียบที่ยกแดมเปอร (์Damper Pedal) ออกจากทุกสายในเวลาเดียวกัน. หลังจากนั้น เปียโนส่วนมากก็นำสิ่งประดิษฐ์ของซิลเบอร์แมนมาใช้.
ซิลเบอร์แมนได้นำเปียโนของเขาไปแสดงให้โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ในช่วงปี ค.ศ. 1730 แต่บาคก็แสดงความไม่ชอบใจที่โน้ตสูงของเปียโนยังคงเบาและไม่สามารถให้ความไพเราะอย่างเต็มที่. ซิลเบอร์แมนจึงได้พัฒนาเปียโนเพิ่มขึ้นอีก จนบาคให้ความเห็นด้วยกับเปียโนของซิบเบอร์แมนราวปี ค.ศ. 1747
การผลิตเปียโนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในหมู่ผู้ผลิตเปียโนแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งรวมถึงโยฮัน แอนเดรียส สไตน (Johann Andreas Stein) และแนนเนต์ สไตน (Nannette Stein) ลูกสาวของโยฮัน แอนเดรียส. เปียโนเวียนนานั้นมีโครงไม้ สายสองเส้นต่อโน้ต และค้อนหนัง. นักประพันธ์ชื่อดังอย่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เองก็ได้ประพันธ์เพลงเพื่อเล่นบนเปียโนชนิดนี้. เปียโนในยุคของโมซาร์ทนั้นมีเสียงที่ใสกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีพลังเสียงน้อยกว่าเปียโนในปัจจุบัน




ในปัจจุบัน คำว่าฟอร์เตเปียโน (
fortepiano) ใช้แยกแยะระหว่างเปียโนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเปียโนในปัจจุบัน

                    บาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี  เป็นผู้สร้างเปียโน่คนแรกในยุค 1700








คันเหยียบ (Pedal)ของ Upright Piano
เปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในคริสต์ศตวรรษที่ 18เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่  คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุดคันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน ในเปียโนบางตัวจะมี 2 อัน โดยจะเทียบได้เท่ากับ อันซ้ายสุดและอันขวาสุดของเปียโนที่มี 3 อัน ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่
1. คันเหยียบอันซ้ายสุด = มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
2.  คันเหยียบอันกลาง = ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น
3.  คันเหยียบอันขวาสุด = คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน)


Baldwin (ค.ศ. 1890)
Bechstein (ค.ศ. 1853)
Bösendorfer (ค.ศ. 1828)
Broadwood (ค.ศ. 1783)
Érard (ค.ศ. 1777)
Fazioli (ค.ศ. 1978)
Feurich (ค.ศ. 1851)
Gaveau (ค.ศ. 1847)
Grotrian (ค.ศ. 1835)
Kawai (ค.ศ. 1930)
Mason and Hamlin (ค.ศ. 1854)
Petrof (ค.ศ. 1864)                                                                     รายชื่อผู้ผลิตเปียโนชื่อดังของโลก
Pleyel (ค.ศ. 1807)
Samick (ค.ศ. 1958)
Sauter (ค.ศ. 1819)
Schimmel (ค.ศ. 1885)
Steingraeber & Söhne
Steinway & Sons (ค.ศ. 1853)
Stuart and Sons
Yamaha (ค.ศ. 1889)
Young Chang (ค.ศ. 1956)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น