ประเภทของเปียโน่
เป็นเปียโนมาตรฐานที่ใช้ในการแสดงที่เป็นทางการ
(หรือถ้าใครมีไว้ซ้อมที่บ้านก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ ขึ้นอยู่กับความไฮโซส่วนบุคคล :))
มีหลายขนาด โดยยิ่งยาว เสียงจะยิ่งดีกว่าตัวสั้นครับ ถ้าไม่ยาวมาก เช่นประมาณ 4-5
ฟุต อาจจะเรียกว่า เบบี้แกรนด์ (Baby Grand) ซึ่งก็จะเหมาะสำหรับไว้ซ้อมหรือคอนเสิร์ตเล็กๆ
มากกว่า แต่ถ้ายาวกว่านั้นก็จะเรียกได้ว่าแกรนด์เปียโนครับ
โดยแกรนด์เปียโนบางตัวที่ใช้แสดงคอนเสิร์ตอาจยาวถึง 9
ฟุตเลยทีเดียว
เป็นเปียโนที่พบเห็นได้แพร่หลายมาก
โดยเฉพาะตามโรงเรียนสอนเปียโน เปียโนอัพไรท์จะกินที่น้อยกว่า แต่แน่นอน
เสียงก็จะไม่หรูหราเท่าเปียโนแกรนด์และราคาจะถูกกว่า
ความแตกต่างระหว่างเปียโนอัพไรท์กับเปียโนแกรนด์คือ โครงหรือซาวน์บอร์ด (Sound
Board) ที่ใช้ขึงสายเปียโนของอัพไรท์จะอยู่ในแนวตั้ง
แต่ของแกรนด์จะอยู่ในแนวนอน เพราะฉะนั้นสำหรับเปียโนอัพไรท์
ยิ่งสูงสายเปียโนก็จะยิ่งยาว เสียงก็จะยิ่งดี ยกตัวอย่างเปียโนอัพไรท์ของยามาฮ่า (Yamaha)
รุ่น U1 จะสูงประมาณ 121 cm. ส่วนรุ่น
U3 จะสูงประมาณ 131 cm. เราก็จะเรียก
U3 ว่ารุ่นใหญ่กว่าเนื่องจากสายยาวกว่า
เสียงดีกว่าและแน่นอนว่าแพงกว่า
เปียโนอัพไรท์ (Upright
Piano)
เปียโนไฟฟ้า (Digital piano)
เปียโนไฟฟ้า (Digital Piano)
ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า
เครื่องดนตรีไฟฟ้าที่มีคีย์สีดำๆ ขาวๆ และกดมีเสียงได้
ไม่ได้เรียกว่าเปียโนไฟฟ้าทุกตัวนะครับ บางอันมีคีย์ไม่ถึง 88
คีย์และบางอันก็ทำเสียงดัง-เบาไม่ได้ (ทำเสียงดัง-เบา หมายถึงกดแรงเสียงดัง
กดค่อยเสียงเบานะครับ ไม่ใช่ปรับเสียงดัง-เบา)
ถ้าเป็นอย่างที่ว่าข้างต้นผมจะไม่เรียกว่าเปียโนไฟฟ้าละกันครับ
เรียกเป็นคีย์บอร์ดไฟฟ้าดีกว่าจะได้ไม่สับสน
ผมจะเรียกเปียโนไฟฟ้าก็ต่อเมื่อเครื่องนั้นมีคีย์ครบ 88
คีย์ ขนาดของคีย์เท่าเปียโนจริง และสามารถทำกดแรงเสียงดัง กดค่อยเสียงเบาได้ครับ
เปียโนไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าและแผงวงจรสังเคราะห์เสียงออกมา
ไม่ได้ใช้กลไกแบบเปียโนจริงๆ (ที่ว่าเปียโนจริงๆ หมายถึงเปียโนที่เป็นกลไกทั้งหมด
ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า) ถึงแม้ตรงคีย์บอร์ดสำหรับกดจะดูเหมือนๆ กัน
แต่เนื่องจากโครงสร้างและกลไกภายในไม่เหมือนกัน เวลาเล่นจะรู้สึกถึงสัมผัส
แรงที่ใช้กด ความเด้ง ความหนืด ไม่เหมือนกัน
(ถึงแม้เปียโนไฟฟ้าจะพยายามทำให้คล้ายแล้วแต่ยังไงมันก็ไม่เหมือนอยู่ดีครับ :(
โดยส่วนมากแล้วเปียโนไฟฟ้าจะกดง่ายกว่า ใช้แรงน้อยกว่า)
อันนี้จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่ทำให้เปียโนไฟฟ้าไม่เหมาะสำหรับผู้ที่จะเล่นเปียโนเป็นจริงเป็นจัง
เนื่องจากสัมผัสไม่เหมือนกันหรือที่เรียกว่า Touching ไม่เหมือนกันครับ
(ปล. ขนาดเปียโนจริงๆ คนละตัว คนละรุ่น Touching ยังไม่เหมือนกันเลยครับ)
เปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88
คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0
ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85
คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น
โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer
ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0
บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ
ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโนปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา
บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ)
ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง
คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance)
ได้มากขึ้น ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ
เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า
มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้
ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน
เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม
ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการ
สำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical
keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord
โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ
และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่
18
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ตอบลบ